วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รายละเอียดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม


รายละเอียดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

http://115.31.137.7/workpermit/main/wp/downloadform.asp


ตท.1 คำขอรับใบอนุญาตทำงาน ตามมาตรา 10 Download

ตท.2 คำขอรับใบอนุญาตทำงาน ตามมาตรา 7 Download

ตท.3 คำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว Download

มาตรา 8 Download

ตท.5 คำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ตามมาตรา 15 Download

ตท.6 คำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน ตามมาตรา 19 Download

ตท.7 คำขออนุญาตเปลี่ยนการทำงานหรือเปลี่ยนท้องที่ หรือสถานที่ในการทำงาน ตามมาตรา 21


แบบที่ 1กรณี การเปลี่ยน/ย้าย/เพิ่มที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในสถานประกอบการเดิม Download








แบบที่ 2 กรณี
1.เพิ่ม/ เปลี่ยนตำแหน่งงาน และ/หรือลักษณะงานในสถานประกอบการเดิมและ/หรือสถานประกอบการแห่งใหม่
2. การเพิ่มนายจ้าง/สถานประกอบการแห่งใหม่ที่นอกเหนือจากการอนุญาตเดิม
Download

ตท.11 แบบหนังสือแจ้งการเข้ามาทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน ตามมาตรา 7 Download

ตท.12 แบบแจ้งการได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลา ตามมาตรา 14 Download

ตท.13 Download

ตท.15 Download

คำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตทำงาน Download

เอกสารอื่นๆ(เพิ่มเติม)


แบบแสดงรายละเอียดประกอบการขออนุญาตทำงานในตำแหน่ง ครู/ผู้สอน) Download

แบบหนังสือรับรองการจ้าง Download

แบบหนังสือรับรองวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน Download

แบบถ่ายทอดความรู้หรือรายงานการฝึกสอนพนักงานคนไทย Download

แบบบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวทำงาน Download

ใบแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงาน Download

ความผิดที่จะดำเนินคดีแก่คนต่างด้าว นายจ้าง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง Download

แบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว Download

หนังสือมอบอำนาจ (กรณี การขออนุญาตทำงาน) Download

หนังสือมอบอำนาจ (กรณี การขอหนังสือรับรองใบอนุญาตทำงาน) Download

แบบฟอร์มคำร้องขอรับใบอานุญาตทำงาน (MOU) Download

แบบฟอร์มสัญญาจ้าง (MOU) Download

แบบคำร้องขอนำเข้าคนต่างด้าวตามบันทึกความเข้าใจ (MOU)ระหว่างประเทศไทย(MOU) Download

แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุญาตทำงาน/การขอรับใบอนุญาตทำงาน/การขอเปลี่ยนการทำงาน หรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน/การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน แทนคนต่างด้าว (3 สัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา)

บทกำหนดโทษ


บทกำหนดโทษ
ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551

ผู้ถูกดำเนินคดี กรณีความผิด โทษ






คนต่างด้าว

1.ทำงานฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกางานห้าม (มาตรา 6) - ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั่งแต่ 2,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 33)
2.ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน (มาตรา 7) - ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 34)
3.คนต่างด้าว มาตรา 12 ทำงานไม่มีใบอนุญาตทำงาน
4.ทำงานฝ่าฝืน เงื่อนไข (มาตรา 9)

5.ทำงานในขณะที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นสุด (มาตรา 15) - ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 37)
6.ทำงานเมื่อใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ ในกรณีที่มีอุทธรณ์ขอต่ออายุแล้ว รัฐมนตรีไม่อนุญาต (มาตรา 17)
7.ทำงานแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน (มาตรา 21) - ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 38)
8.เปลี่ยนท้องที่ หรือสถานที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต (มาตรา 21)
9.ไม่พกใบอนุญาตทำงานในระหว่างทำงาน (มาตรา 18) - ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 35)
10.เลิกทำงานแล้วไม่ส่งคืนใบอนุญาตทำงานภายในกำหนด (มาตรา 20)
11.ได้รับส่งเสริมการลงทุนไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานภายในกำหนด (มาตรา 10)
12.ได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้ขยายระยะเวลาการทำงานไม่แจ้งภายในกำหนด (มาตรา 14) - ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 36)
13.ใบอนุญาตทำงานชำรุดในสาระสำคัญหรือสูญหาย (มาตรา 19)

นายจ้าง

1.รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน
- ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 39)
2.รับคนต่างด้าวเข้าทำงานที่มีลักษณะหรือเงื่อนไขแตกต่างจากที่กำหนดไว้ ในใบอนุญาต (มาตรา 22)
ดาวน์โหลดไฟล์ บทกำหนดโทษ

การกำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ

บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา
กำหนดในอาชีพและวีชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
พ.ศ. 2522
---------------------


(1) งานกรรมกร

(2) งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม
(3) งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น
(4) งานแกะสลักไม้
(5) งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ
(6) งานขายของหน้าร้าน
(7) งานขายทอดตลาด
(8) งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว
(9) งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย
(10) งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
(11) งานทอผ้าด้วยมือ
(12) งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่
(13) งานทำกระดาษสาด้วยมือ
(14) งานทำเครื่องเขิน
(15) งานทำเครื่องดนตรีไทย
(16) งานทำเครื่องถม
(17) งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
(18) งานทำเครื่องลงหิน
(19) งานทำตุ๊กตาไทย
(20) งานทำที่นอนผ้าห่มนวม
(21) งานทำบัตร
(22) งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
(23) งานทำพระพุทธรูป
(24) งานทำมีด
(25) งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า
(26) งานทำรองเท้า
(27) งานทำหมวก
(28) งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
(29) งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
(30) งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ
(31) งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
(32) งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
(33) งานมวนบุหรี่ด้วยมือ
(34) งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว
(35) งานเร่ขายสินค้า
(36) งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
(37) งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
(38) งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ
(39)
งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี

หลักเกณฑ์ในการพิจารณา

หลักเกณฑ์ในการพิจารณา

เป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงาน หรือไม่ กิจการนั้นส่งเสริมการนำรายได้เข้าประเทศหรือไม่ เช่น กิจการส่งออก หรือการ ท่องเที่ยวมีการนำวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาใช้ และถ่ายทอดให้คนไทยเป็นงานที่คนไทยยังทำไม่ได้หรือขาดแคลนไม่เป็นอาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำตามพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 จำนวน 39 อาชีพปฏิบัติตามระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2537 คนต่างด้าวผู้ใดฝ่าฝืนทำงานต้องห้าม 39 อาชีพ หรือคนต่างด้าวตามมาตรา 12 ถ้าทำงานนอกเหนือจากกำหนด 27 อาชีพ มีความผิด จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


การยื่นคำขออนุญาตทำงาน

การยื่นคำขออนุญาตทำงาน

1.คนต่างด้าวที่ยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน ให้ปฏิบัติดังนี้

1.1.ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ เพื่อขอคำแนะนำและขออนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA)

1.2.ให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทน (แบบ ตท.3) และเมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตแล้ว คนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อรับใบอนุญาตและทำงานได้

2.คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน ต้องปฏิบัติดังนี้

2.1.คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัตปิโตรเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน (แบบ ตท. 1) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักรหรือ 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ โดยในระหว่างขอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอทำงานไปพลางก่อนได้ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 35)

2.2.คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน และไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติ หรือต้องห้ามตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับ ใบอนุญาตทำงานแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบ ตท. 2 (มาตรา 7, 11)ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 34)




คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม

กำหนดโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามและเงื่อนไข ของคนต่างด้าว ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงาน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2522 มีดังนี้

1. มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขอรับใบอนุญาต ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต

2. คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน มีระยะเวลาการทำงานไม่เกิน 15 วัน จะทำงานได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้อธิบดี หรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบ (มาตรา 7) งานอันจำเป็นและเร่งด่วน ออกโดยระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2537 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 จะอนุญาตให้ คนต่างด้าวทำงานในหมวดอาชีพต่าง ๆ แต่ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้

งานบริหารงานและวิชาการ งานด้านเทคนิค งานจัดหางานต่างประเทศ งานเบ็ดเตล็ด งานที่อธิบดี หรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมาย เห็นควรรับแจ้งเป็นกรณีพิเศษตามความจำเป็นในขณะนั้น

3. คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ส่วนใหญ่เป็นการขออนุญาตตามมาตรา 12 (2) คือ คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร ต้องปฏิบัติดังนี้

3.1 กรณีประสงค์จะทำงานภายในเขตจังหวัด ให้ยื่นคำขอตามแบบ ตท. 8 พร้อมบัตรอนุญาตออกโดยกระทรวงมหาดไทย

3.2 กรณีขออนุญาตออกนอกพื้นที่ คนต่างด้าวต้องยื่นขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตนอยู่ เพื่ออนุญาตออกนอกเขตจังหวัด และหากจะทำงานคนต่างด้าวจะต้องขอรับใบอนุญาตทำงาน (แบบ ตท. 8) จึงจะทำงานได้

ปัจจุบันรัฐมนตรีได้ออกประกาศกำหนดงานที่ให้คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ทำงานได้รวม 27 อาชีพ และให้คนต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ ้ประกันตัวจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2543 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2543 และอยู่ระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร จำนวน 106,684 คน ทำงานได้เฉพาะงานกรรมกร ในพื้นที่ 37 จังหวัด 18 ประเภทกิจการ

หน้าที่ของนายจ้างและคนต่างด้าว

หน้าที่ของนายจ้าง
- แจ้งภายใน 15 วัน
รับคนต่างด้าวเข้าทำงานให้คนต่างด้าวย้ายสถานที่ทำงานคนต่างด้าวออกจากงาน

หน้าที่ของคนต่างด้าว
ถือใบอนุญาตทำงานไว้กับตัว หรือ ณ สถานที่ทำงานกรณีใบอนุญาตชำรุด สูญหาย ยื่นขอใบแทน ภายใน 15 วัน คืนใบอนุญาตทำงานภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เลิกทำงาน ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

ข้อควรปฏิบัติของนายจ้าง

ข้อควรปฏิบัติของนายจ้าง

1. ห้ามรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับคนต่างด้าวเข้าทำงานที่มีลักษณะงาน หรือเงื่อนไขต่างไปจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

2. นายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงานหรือให้ย้ายไปทำงานที่อื่น หรือออกจากงานต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับเข้าทำงานหรือย้าย หรือออกจากงาน (ผู้ฝ่าฝื่นมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)

ประเภทแรงงานต่างด้าว

ประเภทแรงงานต่างด้าว

พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 (เริ่มใช้บังคับวันที่ 22 กรกฎาคม 2521) ได้กำหนดไว้ว่า คนต่างด้าวจะทำงานได ้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางาน หรือ เจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายเท่านั้น

คนต่างด้าวหมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

ทำงาน หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ด้วยประสงค์ค่าจ้าง หรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม

คนต่างด้าวที่มีสิทธิขออนุญาตทำงานได้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท




1.ประเภทชั่วคราว คือ คนต่างด้าวทั่วๆไป (ตามมาตรา 7) หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON–IMMIGRANT VISA)

2.ประเภทส่งเสริมการลงทุน คือ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุน หรือตามกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวในลักษณะเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม (ตามมาตรา 10)

3.ประเภทมาตรา 12 คือ คนต่างด้ าวตามมาตรา 12 ซึ่งมี 4 กรณี คือ

3.1 คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใดแทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ

3.2 คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร เช่น พวกญวณอพยพ ลาวอพยพ เนปาลอพยพ พม่าพลัดถิ่น หรือคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543

3.3 คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัต ิ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2539 หรือตามกฎหมายอื่น เช่น บุคคลที่เกิดภายหลังวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้

3.4 คนต่างด้าวโดยผลของการถูกถอนสัญชาติ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

4. ประเภทตลอดชีพ หมายถึง คนต่างด้าวผู้ซึ่งได้รับอนุญาตทำงานตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 322 ข้อ 10 (1) มีสาระสำคัญว่าใบอนุญาตที่ออกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ให้ใช้ได้ตลอดชีวิตของคนต่างด้าวนั้น เว้นแต่คนต่างด้าวจะเปลี่ยนอาชีพใหม่

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคนต่างด้าว

ความหมาย

คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

ทำงาน หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ด้วยประสงค์ค่าจ้าง หรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม
คนต่างด้าวที่ยังไม่เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้

1. ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ เพื่อขอคำแนะนำและขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) ในหนังสือเดินทางเท่านั้น

2. ให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทนเมื่อได้รับแจ้งอนุญาตแล้ว คนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามารับใบอนุญาตและทำงานได้



คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรแล้วประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้

1. ต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่นต้องยื่นขอรับใบอนุญาต ทำงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักร หรือ 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้นๆ (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)

2. คนต่างด้าวไม่ว่าจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรประเภทคนอยู่ชั่วคราว จะทำงานได้ต่อเมื่อ ได้รับใบอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด
(ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือ ปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ)

3. คนต่างด้าวฝ่าฝืนการทำงาน ซึ่งห้ามโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงานได้

1.มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (มิใช่นักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน)

2. ต้องไม่ขอทำงานที่ห้ามไว้ในพระราชกฤษฎีกา (39 อาชีพ)

3. มีความรู้ความสามารถในการทำงานตามที่ขอรับใบอนุญาตทำงาน

4. ต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

5. ต้องไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรือน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฎอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง

6.ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต

คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้วต้องปฏิบัติ ดังนี้

1. มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)

2. ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่น หรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ)

3. คนต่างด้าวที่ได้รับการขยายระยะเวลาการทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายอื่น ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการขยายระยะเวลา (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท)

4. ก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต่อต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนจึงจะทำงานได้ (ผู้ฝ่าฝืนทำงานเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว มีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือประบไม่เกินห้าพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ)

5. กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท)

6. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว หรือชื่อสถานที่ทำงาน ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขโดยไม่ชักช้า

7. เมื่อเลิกทำงานต้องคืนใบอนุญาตทำงานภายใน 7 วัน นับแต่วันเลิกทำงาน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)